Monthly Archives: มกราคม 2012

ผลกระทบของยาเสพติด

มาตรฐาน

ผลกระทบของปัญหายาเสพติด

ยาเสพติดเป็นปัญหาที่  “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย”  ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล   และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)

 ผลกระทบต่อตัวบุคคล
           ๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย  กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐  นอกจากนี้ตัวยาบางตัว  เช่น  แอมเฟตามีน    หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ      และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง   การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน      โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและท

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
       ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                     

         ๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
       ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                 

         ๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 

10 ประการห่างไกลยาเสพติด

มาตรฐาน

หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด 

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ)

2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด

3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด

4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่

5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด

6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน

7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด

8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น

9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ

10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว

สถิติยาเสพติด

มาตรฐาน

จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวาง และรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียกับประเทศชาติหลายด้านด้วยกันทั้งด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการเมือง การปกครอง รัฐบาลได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อจะลดการระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กลยุทธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดยาเสพติดภายในประเทศ รวมทั้งใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดกับผู้ที่กระทำผิดในการค้ายาเสพติด และ
ผู้เสพย์ยาเสพติด เป็นต้น
จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่า ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากในประเทศไทยได้แก่ เฮโรอีน และยาบ้า (แอมเฟตามีน) พื้นที่ที่มีปัญหาเฮโรอีนรุนแรง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนการแพร่ระบาดของยาบ้ามีมากใน
ภาคกลาง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และจากการรวบรวมสถิติของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่า ปี พ.ศ. 2533 มีนักเรียน นักศึกษา สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 447 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จนในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีจำนวนถึง 6,542 คน และจากสถิติข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษาพบว่าในช่วงปี 2535-2543 การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6-ปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยในปี 2542 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าจากนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 5,365,942 คน
ทั่วประเทศมีนักเรียน/นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 663,290 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.4

โทษของยาเสพติด

มาตรฐาน
ทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
…..เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก
…..โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
…..โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง